บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด  ผู้พัฒนาธุรกิจค้าปลีกและอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำระดับโลก  เจ้าของและผู้บริหารโครงการศูนย์การค้า ได้แก่ สยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ หนึ่งในพันธมิตรเจ้าของไอคอนสยาม  และสยาม พรีเมี่ยม เอาท์เล็ต กรุงเทพ เผยว่าความสำเร็จในการสร้างสรรค์โครงการเพื่อสิ่งแวดล้อมตลอดปี 2564 ที่ผ่านมา ซึ่งได้รับการการันตี ทั้งจากรางวัล และเสียงตอบรับของสังคม เป็นแรงผลักดันสำคัญ ที่จะนำสยามพิวรรธน์ไปสู่เป้าหมาย ‘องค์กรขยะเป็นศูนย์’ ด้วยการต่อยอดและใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาโครงการสำหรับภารกิจต่อ ๆ ไปในอนาคต ทั้งในด้านการบริหารจัดการและด้านการพัฒนาองค์ความรู้ อีกทั้งความสำเร็จที่เกิดขึ้นยังถือได้ว่าเป็นปรากฏการณ์ต้นแบบของความยั่งยืนในโลกธุรกิจค้าปลีกอีกด้วย

สำหรับปี 2564 สยามพิวรรธน์เริ่มต้นศักราชแห่งความยั่งยืน ด้วยโครงการที่มีความโดดเด่นอย่างยิ่งในด้านการบริหารจัดการและสร้างการมีส่วนร่วม อย่าง Siam Piwat 360 Waste Journey to Zero Waste โดยจับมือร่วมกันกับกลุ่มบริษัทยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย บริษัท คาโออินดัสเตรียล (ประเทศไทย) จำกัด  บริษัท เต็ดตรา แพ้ค (ประเทศไทย) จำกัด  และเครือข่ายพันธมิตร เพื่อจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยอย่างยั่งยืนตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ด้วยแผนการจัดการขยะแบบ 360 องศา ก้าวสู่องค์กรขยะเป็นศูนย์ และการนำข้อมูลไปต่อยอดใช้เป็นต้นแบบให้กับหน่วยงานอื่น ๆ

โครงการ Siam Piwat 360 Waste Journey to Zero Waste  นี้ ขับเคลื่อนไปด้วย 2 กระบวนการหลัก ได้แก่ Recycle Collection Center หรือ จุดรับวัสดุบรรจุภัณฑ์สะอาดที่ไม่ใช้แล้ว แบบไดร์ฟทรู (Drive-Thru) แห่งแรกในประเทศไทย ที่เปิดให้คนทั่วไปสามารถนำขยะรีไซเคิลที่คัดแยกแล้วมาทิ้งที่จุดไดร์ฟทรู ณ สยามพารากอน ซึ่งมีอยู่ 2 จุดด้วยกัน เพื่อส่งต่อไปสู่กระบวนการบริหารจัดการขยะของศูนย์การค้า ซึ่งมีทั้งส่งต่อไปยังศูนย์รีไซเคิลเพื่อแปรรูป และส่งต่อไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่า ที่นำกลับมามอบคุณค่าสู่ผู้บริโภคได้อีกครั้ง อีกกระบวนการหนึ่งก็คือ ส่งขยะเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล โดยขยะจากศูนย์การค้าในเครือทั้งหมดจะถูกนำมาคัดแยกและส่งไปยังปลายทาง ทั้งนี้กลุ่มขยะรีไซเคิลได้ จะถูกส่งต่อไปตามขั้นตอนการบริหารจัดการขยะที่เป็นมาตรฐาน เพื่อนำไปสู่กระบวนการ Recycleและ Upcycling ให้สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ใหม่ ในขณะที่ขยะกำพร้า จะใช้วิธีการร่วมกับเครือข่ายลดพลาสติกไทยแลนด์ นำไปส่งต่อให้กับบริษัท สถานีรีไซเคิล วงษ์พาณิชย์ สุวรรณภูมิ จำกัด นำไปทำเป็นเชื้อเพลิงขยะ (RDF) เพื่อใช้เป็นพลังงานทางเลือก

อีกหนึ่งโครงการใหญ่ที่น่าสนใจไม่แพ้กัน และมีความโดดเด่นอย่างยิ่งในด้านการพัฒนาองค์ความรู้ ก็คือโครงการ Siam Pieces ที่สยามพิวรรธน์ร่วมมือกับเครือข่ายพันธมิตรประกอบด้วย  บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด, สถาบันพลาสติก, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, PPP Plastics, กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย,  กรมควบคุมมลพิษ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร และเขตปทุมวัน ริเริ่มขึ้นเพื่อสร้างต้นแบบการจัดการขยะพลาสติกอย่างยั่งยืน ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน อันจะนำไปสู่การพัฒนาแบบแผนธุรกิจ ตลอดห่วงโซ่ธุรกิจ ผ่านการศึกษาวิจัยพฤติกรรมจากกลุ่มตัวอย่างของผู้บริโภคในพื้นที่เขตปทุมวัน ซึ่งนอกจากสยามพิวรรธน์ตั้งอยู่ในพื้นที่นี้อันเอื้อให้เกิดความสะดวกในการทำงาน เขตปทุมวันยังประกอบด้วยสถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หน่วยงานราชการ พิพิธภัณฑ์ ย่านธุรกิจ ชุมชน มีกลุ่มตัวอย่างพร้อมสำหรับการสร้างแบบแผนนำร่องตามแนวคิด Circular Economy หรือการนำทรัพยากรที่ใช้ไปแล้ว กลับมาแปรรูป และนำกลับไปใช้อีกในอนาคต โดยผสานนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในกระบวนการผลิตใหม่ เพื่อการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

นอกจากนี้ตลอดปี 2564 ที่ผ่านมา สยามพิวรรธน์ ยังมีการจัดโครงการและกิจกรรมขนาดย่อยอื่น ๆ ที่น่าสนใจและเข้าถึงง่ายสำหรับกลุ่มคนที่หลากหลาย อาทิ โครงการแยกขวดช่วยหมอ ที่ผนึกกำลังร่วมกับ Less Plastic การร่วมมือกับ PTTGC จัดต้นคริสต์มาสรักษ์โลกCircular Living X’mas Tree 2021 เพื่อร่วมฉลองเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ ในแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่เปิดโอกาสให้คนทั่วไปได้สัมผัสถึงและมีส่วนร่วมเพื่อจุดประกายความตระหนักต่อการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมร่วมกัน ทั้งหมดนี้จึงอาจเรียกได้ว่าเป็นการสะสมรอยเท้าเล็ก ๆ อันจะนำไปสู่ก้าวที่ยิ่งใหญ่แห่งการเป็น ‘องค์กรขยะเป็นศูนย์’ หรือ ‘Zero Waste’ บนเส้นทางที่แสนมุ่งมั่นของสยามพิวรรธน์นั่นเอง

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here