เมื่อกล่าวถึงจรวดเราอาจจะมองว่ามันเป็นอะไรที่ไกลตัวมาก แต่ในภาพรวมของอุตสาหกรรมโลกไม่ว่าจะเป็นทั้งทางด้านเทคโนโลยีหรือทรัพยากร ทุกอย่างมีพร้อมสำหรับการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการบูรณาการได้อย่างมีประสิทธิผล ความท้าทายที่จะเป็นสิ่งชี้วัดได้ถึงความสำเร็จจึงมิใช่แค่การบรรลุถึงภารกิจที่วางไว้ แต่มันคืองบประมาณที่ต้องใช้และผลตอบแทนที่จะได้รับคืนในด้านการใช้งานหลังจากที่มีการออกแบบ สร้าง และทะยานสู่อวกาศสำเร็จในแต่ละครั้ง ดังนั้นการคาดการณ์หรือประมาณการประโยชน์ของโครงการจะมีความเป็นไปได้สูงหากการปฏิบัติการเป็นไปในรูปแบบภาคเอกชนด้วยการคิดกำไรขาดทุนเป็นตัวเลขที่จับต้องได้ทั้งทางตรงและทางอ้อมในระยะสั้นและระยะยาว

กิจการอวกาศสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทได้แก่
1. การออกแบบและสร้างจรวด
2. การส่งเครือข่ายดาวเทียม
3. การท่องเที่ยวอวกาศ

ทั้งหมดนี้ล้วนมีความสัมพันธ์ด้านวิศวกรรมศาสตร์อยู่ที่ระบบขับดันหรือ Propulsion การคำนวณน้ำหนัก จุดศูนย์ถ่วงหรือ CG รวมถึง Payload การกักเก็บและควบคุมเชื้อเพลิง ความทนทานต่ออุณหภูมิแบบสุดขั้ว ระบบรับส่งสัญญาณ ระบบพลังงาน การเดินทางกลับสู่ชั้นบรรยากาศโลก และระยะวงโคจร ซึ่งท้ายสุดแล้วผลสำเร็จจะถูกแปลงเป็นรายได้ในรูปแบบธุรกิจอื่นๆเช่น การสื่อสารโทรคมนาคม และการท่องเที่ยว เป็นต้น

ส่วนแนวโน้มของอุตสาหกรรมอวกาศคาดว่ากำลังเติบโตอย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดดโดยมีจุดเริ่มต้นจากกลยุทธ์การบริหารแบบภาคเอกชนเนื่องจากการรู้จักนำเทคโนโลยีที่มีอยู่มาประยุกต์ใช้เพื่อการพาณิชย์ให้เป็นผลสำเร็จ ในทรรศนะของคุณ ธนิก นิธิพันธวงศ์ วิศวกรและนักพัฒนาเทคโนโลยีผู้มีประสบการณ์ด้านการออกแบบยานอวกาศและจรวดพร้อมทั้งกระบวนการผลิตชิ้นส่วนต่างๆรวมถึงการบูรณาการจากประเทศสหรัฐอเมริกา เปรียบอุตสาหกรรมอวกาศภาคเอกชนเสมือนกับอุตสาหกรรมอากาศยานที่มีสายงานบริหารการบินหรือ Aviation Management เมื่อเป็นที่แพร่หลายเพื่อการดำเนินงานอย่างมีแบบแผนให้เป็นไปได้จริงในระยะเวลาที่สั้นที่สุดกับค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม สอดคล้องกับเทรนด์ในขณะนี้ที่มีการกระจายของผู้ผลิตจรวดสำหรับการส่งดาวเทียมวงโคจรต่ำหรือ Low Earth Orbit (LEO) จึงอาจจะมีสายงานบริหารการอวกาศหรือ Space Systems Management and Integration ปรากฏให้เห็นเพิ่มมากขึ้นในอนาคตก็เป็นได้

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here